โรคพุ่มพวง หรือ โรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน แต่สาเหตุที่ภูมิคุ้มกันทำงานผิดพลาดนั้นยังไม่แน่ชัด โดยภูมิคุ้มกันของคนคนนั้นได้ทำลายเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในร่างกายของตัวเองจนเกิดการอักเสบ และ ทำให้เกิดความผิดปกติกับอวัยวะได้ทั่วทั้งร่างกาย ซึ่งสามารถพบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยจะพบได้ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้วงอื่นๆที่สำคัญกับการเกิดโรคได้เช่น กรรมพันธุ์เนื่องจากอาจมีสารพันธุกรรมบางชนิดที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคกำเริบมากขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อภายในร่างกาย แสงแดด เป็นต้น หากป่วยเป็นโรคนี้ร่างกายก็จะมีการสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งขึ้นมาที่มีชื่อว่า Antinuclear Antibodyซึ่งทำให้แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคได้ชัดเจน ซึ่งโรคนี้จะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน และ เคร่งครัดเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาการที่กำเริบอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคพุ่มพวง คือ โรคร้ายที่สามารถฆ่าชีวิตเราได้
ความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคพุ่มพวง
- เกิดขึ้นได้จากการใช้ยา และ สารเคมีต่างๆ หรือ ยาประเภทที่ใช้ในการควบคุมความดันเลือด ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
- เกิดขึ้นจากฮอร์โมน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในบางครั้งอาจจะส่งผลด้วย เช่น การตั้งครรภ์ หรือ ช่วงที่เติบโตในแต่ละวัยเป็นต้น
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งโรค หรือ อาการบางชนิดที่เกิดในวงศ์เครือญาติก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพุ่มพวงได้
- ปฏิกิริยาต่อแสงแดด สำหรับผู้ที่มีผิวหนังไวต่อแสงแดดจะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากอาการแพ้ดังกล่าว
อาการของโรคพุ่มพวง ที่พบได้บ่อยคือ
- มีอาการปวดข้อ
- เป็นไข้แต่ไข้ต่ำๆจนถึงไข้สูง
- มีอาการอ่อนเพลีย
- รู้สึกเบื่ออาหาร
- เกิดผื่นผิวหนังขึ้นตามบริเวณใบหน้า แขน ขา ที่อยู่บริเวณนอกเสื้อผ้า
- ผมร่วง
- เกิดสภาวะเลือดจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดขาวต่ำ หากโรครุนแรงอาจมีเม็ดเลือดแดงแตก ปอดอักเสบ ไตอักเสบ
- มีแผลในปาก
การตรวจวินิจฉัยโรคจะต้องอาศัยประสบการณ์ และ ความชำนาญของแพทย์ที่ทำการรักษาเป็นสำคัญ โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะทำวินิจฉัยจากประวัติของผู้ป่วย และ การตรวจร่างกายพบรอยโรคร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ และการเอกซเรย์หัวใจ และ ปอด
ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้จากโรคพุ่มพวง
- โรคหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ ความจำเสื่อม เป็นต้น
- ภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น
วิธีการรักษา
โรคนี้เป็นโรคที่สามารถรักษาได้แต่ต้องใช้เวลานานพอสมควร และ ต้องติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดร่วมกับการดูแลตนเองดังนี้
- ควรอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
- หลีกเลี่ยงการถูกออกแดด และ ถูกแสงแดด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ลด และ หลีกเลี่ยงการติดเชื้อด้วยการทานอาหารที่สะอาด
- ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลด หรือ เพิ่มยาเอง