โรคขี้เต็มท้อง หรือ อาการภาวะอุจจาระตัน ซึ่งหมายถึงภาวะที่อุจจาระแห้ง และ อุดตันในบริเวณลำไส้ตรงจนไม่สามารถผ่านออกมาได้และ ทำให้เกิดปัญหาท้องผูกรุนแรงหรือท้องผูกเป็นเวลานาน จากกรณีดังที่เป็นข่าวดังของ ตุ๊กตา จมาพร แสงทอง หรือ ตุ๊กตานักร้องสาวจากเวที The Voice ที่ออกมาแชร์ถึงประสบการณ์ของการป่วยแปลกที่นักร้องสาวบอกว่าเธอเป็น โรคขี้เต็มท้อง พร้อมกับเราว่าโรคนี้ไม่ได้เกิดกับคนที่ท้องผูกอย่างเดียว แต่สามารถเกิดได้กับทุกการขับถ่ายเลย เพียงแค่คุณอั้นขี้หรือมีการขับถ่ายที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
โรคขี้เต็มท้อง หรือ ภาวะอุจาระตัน ที่เราต้องระวัง!!
สาเหตุ และ พฤติกรรมในการเสี่ยงให้เกิดโรคขี้เต็มท้อง
- เกิดจากการอั้นอุจจาระ หรือ การอุจจาระไม่เป็นเวลา
- ดื่มน้ำน้อย หรือ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ มีส่วนทำให้อุจาระแข็ง และ แห้ง
- รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารน้อยเกินไป
- รับประทานอาหารจำพวก แป้ง น้ำตาล และ ไขมันมากจนเกินไป
- ลำไส้มีการทำงานผิดปกติ
- เกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ออกกำลังกายน้อย ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบขับถ่าย
- ผลข้างเคียงจากการกินยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด NARCOTICS ยาลดกรด ยากลุ่มธาตุเหล็ก หรือ ยากลุ่ม CALCIUM CHANNEL BLOCKERS ที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
- มีโรคประจำตัวที่ส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น โรคซึมเศร้า อัลไซเมอร์ โดยทำให้ขาดการดูแลในเรื่องของอาหารการกินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
- มีความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ และ ไส้ตรง
- มีอาการท้องผูกบ่อย
- มีอาการเจ็บที่ไขสันหลัง ทำให้ไม่สามารถขยับร่างกายได้มากเท่าคนปกติ
อาการของโรคขี้เต็มท้อง
- มีภาวะท้องผูกอยู่บ่อยครั้ง
- มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และ อาเจียน
- ปวดท้องแบบบีบๆ
- หายใจไม่อิ่ม และ หายใจไม่ทั่วท้อง
- มีลมในท้องเยอะผิดปกติ ตดเปรี้ยว และ เรอเปรี้ยว
- มีภาวะท้องอืด ท้องเฟ้อ และ ไม่สบายท้อง
- มีการอุจจาระเป็นก้อนเล็กๆ แข็ง และ บางครั้งอาจมีมูกเลือดปนออกมาด้วย
- เมื่อทำการอุจจาระแล้วก็ยังรู้สึกว่ายังไม่สุดต้องนั่งนานกว่าปกติ หรือ รู้สึกว่ายังมีอยู่จะรักคงเหลืออยู่ภายในท้อง
- มีการแบ่งอุจาระอย่างแรงเกือบทุกครั้ง
- มีอาการปวดหลังส่วนล่าง
วิธีการรักษา
วิธีการรักษานั้นอาจจะต้องขึ้นอยู่กับอาการ และ การวินิจฉัยของแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งจะมีการรักษาหลากหลายวิธีด้วยกัน เช่น การสวนทวารหนัก เหน็บยา หรือ การให้ยาต่างๆ หากมีอาการหนักก็อาจจะมีการผ่าตัดเพื่อนำอุจจาระออกมาจากลำไส้ซึ่งการผ่าตัดยังคงพบได้น้อยมาก
วิธีป้องกัน
- ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันเพื่อช่วยทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มลง
- รับประทานผักผลไม้ และ อาหารที่มีกากใย พร้อมกับลดปริมาณการทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และ ไขมัน
- ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา
- ไม่กลั้นอุจจาระ โดยให้รีบหาที่กลับถ่ายทันทีเมื่อปวด
- อย่าเบ่งอุจจาระแรงๆขนาดที่ไม่ปวด เพราะจะเป็นการกระตุ้น และ เพิ่มแรงดันในลำไส้จนก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้
- ควรทำการนั่งถ่ายอย่างถูกวิธี เพราะถ้านั่งที่เหมาะกับการถ่ายอุจจาระมากที่สุด คือ นั่งยองๆ โดยการนั่งยองๆจะมีแรงกดจากหน้าขาที่ช่วยทำให้การขับถ่ายคล่องมากที่สุด แต่สำหรับใครที่นั่งชักโครกท่านั่งที่ถูกต้อง และ ช่วยทำให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น คือ เอนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย